บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน 
   วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย 
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
          อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิน
          วันอังคารที่ 17 มีนาคม  พ.ศ. 2558    
ครั้งที่ 11 เวลาเรียน 14.10-17.30น.
 เวลาเข้าสอน  14.10 น.เวลาเรียน 14.15 น. เวลาเลิกเรียน 16.30 น.

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
3.ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
-เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
-การกินอยู่ 
-การเข้าห้องน้ำ 
-การแต่งตัว 
-กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน

การสร้งความคิดอิสระ


     •เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
     •อยากทำงานตามความสามารถ
     •เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่


ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
การได้ทำด้วยตนเอง
เชื่อมั่นในตนเอง
เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
หัดให้เด็กทำเอง
ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
•ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
•“ หนูทำช้า ”  “ หนูยังทำไม่ได้ ” 
จะช่วยเมื่อไร
เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง(2-3ปี)




ลำดับในการช่วยเหลือตนเอง
•แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
•เรียงลำดับตามขั้นตอน
การเข้าส้วม
เข้าไปในห้องส้วม                กดชักโครกหรือตักน้ำราด
ดึงกางเกงลงมา                   ดึงกางเกงขึ้น
ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม            ล้างมือ
ปัสสาวะหรืออุจจาระ            เช็ดมือ
ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น        เดินออกจากห้องส้วม
ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
การวางแผนที่ละขั้น
แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด
สรุป
•ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
•ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
•ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
•ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
•เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ
กิจกรรมวันนี้ อาจารย์ให้วาดวงกลมของตัวเอง โดยมีกระดาษให้คน 1 แผ่น และวาดวงกลม                    สลับสีต่างๆตามอิสระ หลังจากวาดวงกลมเสร็จก็ตัดวงกลมของตนเองเท่าที่ใช้สี                ระบาย แล้วก็อาจารย์ก็ได้บอกความหมายของสีและวงกลมที่วาดว่าสื่อถึงอะไรใน              ใจเรา




การนำไปประยุกต์ใช้
          เนื้อหาและกิจกรรมที่ได้รับความรู้ในวันนี้ สามารถนำไปจัการเรียนการสอน หรือจัดเป็นกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องวงกลมหรือสีต่างๆได้

การประเมินตนเอง
         แต่งกายเรียบร้อย มีความพร้อมในการเรียน และตั้งใจเรียน อาจมีพูดคุยกับเพื่อนบ้างและทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน

การประเมินเพื่อน
         เพื่อนๆแต่งกายเรียบร้อย มีความสุขสนุกในการเรียน ตั้งใจเรียนและฟังอาจารย์ให้ความรู้ และทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสนุกสนาน

การประเมินอาจารย์
         อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่ทำให้นักศึกษาเกิดเรียนรู้ และเห็นภาพ อาจมีการสาธิตหรือแสดงให้นักศึกษาดู สอนเข้าใจเนื้อหา แสดงรวมทำกิจกรรมกับนักศึกษาอย่างมีความสุข




บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10

บันทึกอนุทิน 
   วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย 
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
          อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิน
          วันอังคารที่ 10 มีนาคม  พ.ศ. 2558    
ครั้งที่ 10 เวลาเรียน 14.10-17.30น.
 เวลาเข้าสอน  09.00 น.เวลาเรียน 09.00 น. เวลาเลิกเรียน 12.00 น.

       วันนี้ได้เรียนกับเพื่อนๆอีกกลุ่มหนึ่งก่อนเข้าเนื้อหาบทเรียน อาจารย์ได้เล่าประสบการณ์รุ่นพี่ที่สอบบรรจุ และแนะนำแนวการสอบในอนาคตที่จะไปสอบบรรจุ ซึ่งเป็นที่น่าสนใจและประสบการณ์ดีๆที่จะนำไปใช้ในอนาคต
กิจกรรม ได้เล่าเรื่องและให้เราแสดงความคิดเห็น ว่าเห็นภาพแร้วนักศึกษาคิดอย่างไรต่อภาพ และได้รวมกันร้องเพลงที่อาจารย์เคยให้ฝึกร้องอีกรอบ แล้วก็เข้าเนื้อหาบทเรียน

ผลิบานผ่านมือครู



การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
2. ทักษะภาษา
               การวัดความสามารถทางภาษา
                         •ตอเข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
                         •สนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
                         •ถามหาสิ่งต่างๆไหม
                         •บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
                         •ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
                การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
                 •การพูดตกหล่น
                 •การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
                 •ติดอ่าง
       การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
         •ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
         •ห้ามบอกเด็กว่า  “พูดช้าๆ”   “ตามสบาย”   “คิดก่อนพูด”
         •อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
         •อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
         •ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
         •เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
•ทักษะการรับรู้ภาษา
•การแสดงออกทางภาษา
•การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา


ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
        •การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
        •ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
        •ให้เวลาเด็กได้พูด
        •คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
        •เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
        •เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
•ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
•เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
•ใช้คำถามปลายเปิด
•เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
•ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
             การสอนตามเหตุการณ์
               (Incidental Teaching)
                      การนำมาประยุกต์ใช้
กิจกรรมต่างๆที่เรียนในวันนี้ ทำให้เด็กได้เกิดการลงมือหรือปฏิบัติ เพื่อฝึกความคล่องแคล่วส่วนต่างๆของร่างกาย 

                           ประเมินตนเอง
แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา อาจมีคุยบ้างเวลาเรียนและทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อนๆ 

                           ประเมินเพื่อน
วันนี้เรียนสองกลุ่มรวมกัน เพื่อนๆแต่งกายเรียบ ตั้งใจฟังอาจารย์ให้ความรู้ และทำกิจกรรมรมวกันห้องเรียน

                        ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์นัดกลุ่มเรียนตอนบ่ายมาเรียนพร้อมกลุ่มเช้า และ
ให้ความรู้แก่นักศึกษา และได้ลงมือทำกิจกรรมร่วมกัน โดยอาจารย์ให้แนะนำและแสดงถึงสื่อในการวาดของแต่ล่ะคู่



บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน 
   วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย 
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
          อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิน
          วันอังคารที่ 3 มีนาคม  พ.ศ. 2558    
ครั้งที่ 9 เวลาเรียน 14.10-17.30น.
 เวลาเข้าสอน  14.10 น.เวลาเรียน 13.45 น. เวลาเลิกเรียน 17.00 น.
กิจกรรมในชั้นเรียนวันนี้ 
          อาจารย์มีรูปรถไฟเหาะ และตั้งคำถามโดยมีรูปภาพประกอบและให้นักศึกษา ตอบคำถาม ตามความคิดที่เป็นจริงในตัวตนของนักศึกษา

 1.ถ้านักศึกษารอคิวจะขึ้นรถไฟเหาะ นักศึกษาจะรอกี่นาที?
-ขึ้นเลย ไม่รอ ขึ้นเรย เพราะรถไฟมีหลายที่นั่ง

2.เมื่อศึกษาขึ้นไปนั่งแล้ว ตามภาพแล้ว เกิดอาการอย่างไร?
-เสียวหัวใจ หลับตา ไม่หันลงพื้น

3.ถ้านั่งรถไฟแล้วกำลังจะลงน้า จะส่งเสียงแบบไหน?
-กริ๊ด อายยยยยยยยย

4.ระหว่างที่นั่งเล่นม้าโยก เกิดเสียที่ตัวเองนั่ง ถ้าพูดในใจจะพูดอะไร?
-ทำไม ไม่ติดอ่ะ

5.ดูภาพตารางรถไฟ แล้วอาจารย์ให้วาดตารางรถไฟของตนเอง

กิจกรรมที่เล่นนี้ เหมือนใช้แสดงตัวตนของตนเอง และมีความคล้ายนิสัยของผู้ที่ลองเล่น ว่าจริงหรือน้อยแค่ไหน หรือเหมือนใช้ทายนิสัยของตนเอง 

ต่อมาเรียนเนื้อหา การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
1.ทักษะทางสังคม
-เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่
-การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข
กิจกรรมการเล่น
-การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
-เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
-ในช่วงแรกๆเด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นอะไรบางอย่างี่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
ยุทธศาสตร์การสอน
-เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
-ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
-จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
-ครูจดบันทึก
-ทำแผน IEP
(ครูต้องสังเกตเด็กอย่างเป็นระบบและบันทึกไว้เสมอ)
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
-วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
-คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
-ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ2-4คน
-เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน "ครู" ให้เด็กพิเศษ
ครูปฎิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
-อยู่ใกล้ๆและเผ้ามองอย่างสนใจ
-ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
-ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
-เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยึดเวลาการเล่น
-ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม

การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
-ครูพูกชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
-ทำโดย''การพูดนำของครู''
ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
-ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
-การให้โอกาสเด็ก
-เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
-ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง
ห้องเรียนรวม ปรัชญา เด็กทุกคนเท่าเทียมกัน
                    เด็กพิเศษ ต้องทำกติกาเหมือนเด็กปกติ

Post test
ครูสามารถส่งเสริมทักษะทางสังคมในห้องเรียนรวมได้อย่างไร?
-มีสื่ออุปกรณ์ให้เด็กเล่นรวมกัน
-กิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษรวมเล่นด้วย 1 คน
-พูดชักนำ
-ทำให้เด็กพิเศษที่เข้ามีสื่อหน้าสนใจ
-เด็กทุกคนเท่าเทียมกันทุกคน

กิจกรรมต่อมา รวมกันร้องเพลง
เพลง ดวงอาทิตย์
ยามเช้าตรู่อาทิตย์ทอแสงทอง
เป็นประกายเรืองรอง ผ่องนภา
ส่องสว่างไปทั่วแหล่งหล้า บ่งเวลาว่ากลางวัน

เพลง ดวงจันทร์
ดวงจันทร์ทอแสงนวลใย
สุกใสอยู่ในท้องฟ้า
เราเห็นดวงจันทรา
แสงพราวตาเวลาค่ำคืน

เพลง ดอกมะลิ
ดอกมะลิ กลีบขาวพราวตา
เก็บเอามาร้อยเป็นมาลัย
บูชาพระทั้งใช้ทำยาก็ได้
ลอยในน้ำ อบขนมหมชื่นใจ

เพลง กุหลาบ
กุหลาบงาม ก้ามหนามแหลมคม
จะเด็ดดมระวังกายา
งามสดสีสมเป็นดอกไม้มีค่า
เก็บเอามาประดับไว้ในแจกัน

เพลง นกเขาขัน
ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู 

เพลง รำวงดอกมะลิ
รำวง รำวง ร่วมใจ
หอมดอกมะลิที่ร้อยมาลัย
กลิ่นหอมตามลมไปไกล
หอมกลิ่นชื่นใจ จริงเอย

กิจกรรมสุดท้าย ท้ายสุด คือการฟังเพลงไปวาดไป โดยจับคู่กัน 2-3 คนต่อ 1 กระดาษ แล้ว 1 คน วาดเส้นตรง อีกคนวาดจุด 

และนี้คือผลงานคู่ดิฉันค่ะ
 หลังจากนั้น อาจารย์ให้แต่ละคู่ของตัวเอง สังเกตเส้นที่ตัวเองวาดว่าเกิดเป็นรูปอะไร แล้วนำสีมาต่อเติม
และคู่ของดิฉัน ก็ได้ รูปเป็ดกินน้ำ
ผลงานของพวกเราค่ะ

และผลงานของเพื่อนๆ






การนำไปประยุกต์ใช้
           กิจกรรมนี้ สามารถให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติได้จริง และได้ฝึกการคิด มีจินตนาการในการวาด และเกิดความคิดสร้างสรรค์ให้การทำกิจกรรมจริง และกิจกรรมนี้สามารถนำไปปรับใช้ในการเรียนการสอนได้

ประเมินตนเอง
         มีความพร้อมในการเรียน มารอเรียน เข้าเรียนตรงเวลา และทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆและอาจารย์ อย่าสนุกสนาน และมีความสุข ได้ทั้งความรู้ รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ

ประเมินเพื่อน
         เพื่อนๆตั้งใจเรียน เข้าเรียนตรงเวลาและทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสนุกสนาน 

ประเมินอาจารย์
        อาจารย์แต่งกายสุภาพ สอนเนื้อเข้าง่าย และทบทวนอีกครั้งเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น และทำกิจกรรมกับนักศึกษา ค่อยให้คำแนะนำ ปรึกษา และสอนสนุกมีความสุขค่ะ