บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 8

บันทึกอนุทิน 
   วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย 
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
          อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิน
          วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558    
ครั้งที่ 8 เวลาเรียน 14.10-17.30น.
 เวลาเข้าสอน -น.เวลาเรียน - น. เวลาเลิกเรียน -น.

ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากว่า ''ช่วงสอบกลางภาค''


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 7

บันทึกอนุทิน 
   วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย 
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
          อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิน
          วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558    
ครั้งที่ 7 เวลาเรียน 14.10-17.30น.
 เวลาเข้าสอน 14.00 น.เวลาเรียน 14.00 น. เวลาเลิกเรียน 16.30 น.
วันนี้อาจารย์ สอน เรื่องการสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ โดยมีเนื้อหาดังนี้
ทักษะของครูและทัศนคติ
การฝึกเพิ่มเติม
-อบรมระยะสั้น,สัมมนา
-สื่อต่างๆ

การเข้าใจภาวะปกติ
-เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง
-ครูต้องเรียนรู้,มีปฎิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ
-รู้จักเด็กแต่ล่ะคน
-มองเด็กให้เป็น''เด็ก''

การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
-การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย
(ถ้าเรารู้เร็วเท่าไร เราก็จะได้แก้ไข)

ความพร้อมของเด็ก
-วุฒิภาวะ
-แรงจูงใจ(เด็กแต่ละคนมีแรงจูงใจที่แตกต่างกัน)
-โอกาส

การสอนโดยบังเอิญ(เมื่อเด็กเข้ามาหาครู หรือเมื่อเด็กสงสัย)
-ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม
-เด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่ยังมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น
-ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก
-ครูต้องมีความสนใจเด็ก
-ครูต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก
-ครูต้องมีอุปกรณ์และกิจกรรมล่อใจเด็ก
-ครูต้องมีความตั้งใจจริงในการช่วยให้เด็กแต่ละคนได้เรียนรู้
-ครูต้องใช้เวลาในการติดต่อไม่นาน
-ครูต้องทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน

อุปกรณ์(ในห้องเรียนที่เรียนร่วม)
-มีลักษณะง่ายๆ
-ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
-เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
-เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ
-ของเล่นที่ดี ต้องเป็นวิธีการเล่นที่ไม่ตายตัว เช่น บล็อก เลโก้ แป้งโด
-ของเล่นที่ตายตัว เช่น จับคู่ภาพเหมือน จิกซอ

ตารางประจำวัน(ทำให้เป็นประจำทุกวัน)
-เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ
-กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได้
-เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ
-การสลับกิจกรรมที่อยู่เงียบๆกับกิจกรรมที่เคลื่อนไหวมากๆ
-คำนึงถึงความพอเหมาะของเวลา

ทัศนคติของครู
ความยืดหยุ่น
-การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
-ยอรับขอบเขตความสามารถของเด็ก
-ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ล่ะคน

การใช้สหวิทยาการ
-ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ
-สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน

การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้
เด็กทุกคนสอนได้
-เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ
-เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส

เทคนิคการให้แรงเสริม
แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่
-ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก
-มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก และมักเป็นผลในทันที
-หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆก็จะลดลงและหายไป

วิธีการแสดงออกถึงแรงเสริมจากผู้ใหญ่
-ตอบสนองด้วยวาจา
-การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก
-พยักหน้ารับ ยิ้ม ฟัง
-สัมผัสทางกาย
-ให้ความช่วยเหลือ,ร่วมกิจกรรมกับเด็ก

หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
-ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์
-ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์
-ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์

การแนะนำหรือบอกบท(Prompting)
-ย่อยงาน
-ลำดับความยากง่ายของงาน
-การลำดับงานเป็นการเสริมแรงเพื่อให้เด็กค่อยๆก้าวไปสู่ความสำเร็จ
-การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับ

ขั้นตอนการให้แรงเสริม
-สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
-วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละชิ้น
-สอนจากง่ายไปยาก
-ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้ หรือเมื่อเด็กพยายามอย่างเหมาะสม
-ลดการบอกบท เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวปขั้นต่อไป
-ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
-ทีละขั้นไม่เร่งรัด "ยิ่งขั้นเล็กเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น"
-ไม่ดุหรือตี

การกำหนดเวลา
-จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม

ความต่อเนื่อง
-พฤติกรรมทุกๆอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆหลายๆอย่างรวมกัน
เช่น การเข้าห้องน้ำ การนอนพักผ่อน การหยิบและเก็บของ การกลับบ้าน
-สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลัง

เด็กตักซุป
-การจับช้อน
-การตัก
-การระวังไม่ให้น้ำในช้อนหกก่อนจะเข้าปาก
-การเอาช้อนและซุปเข้าปากแทนที่จะทำให้หกรดคาง
-การเอาซุปออกจากช้อนเข้าสู้ปาก

การลดหรือหยุดแรงเสริม
-ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
-ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
-เอาอุปกรณ์หรือของเล่นออกไปจากเด็ก
-เอาเด็กออกจากการเล่น(หยุดทันทีถ้าเด็กแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม)

ความคงเส้นคงวา(Post test)
-การสอนโดยบังเอิญหมายความอย่างไร
-การสอนโดยบังเอิญครูต้องพึงปฎิบัติอย่างไร
-ตารางประจำวันของเด็กควรเป็นอย่างไร
-การให้แรงเสริมต่อเด็กมีวิธีการอย่างไรบ้าง

การนำไปประยุกต์ใช้
          สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนหรือปรับใช้ในอนาคต เมื่อเกิดขึ้นหรือสถานการณ์จริง และเข้าใจถึงพัฒนาการของเด็ก

ประเมินตนเอง
-แต่งกายเรีบยร้อย 
-เข้าเรียนตรงเวลา
-ตั้งใจฟังอาจารย์ผู้สอน
-มีความสุขในการเรียน

ประเมินเพื่อน
          เพื่อนๆแต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์ให้ความรู้ ในการเรียนการสอนก็ร่วมแสดงยกตัวอย่าง และเห็นภาพเข้าใจมากขึ้น และมีความสุขในการเรียน

ประอาจารย์
          สอนเนื้อหาเข้าใจ สนุก เน้นซ้ำเนื้อหาเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจ และบ้างครั้งยกตัวอย่างพร้อมแสดง เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นและเห็นภาพตาม 




บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน 
   วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย 
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
          อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิน
          วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558    
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 14.10-17.30น.
 เวลาเข้าสอน 14.10 น.เวลาเรียน 14.25 น. เวลาเลิกเรียน 16.30 น.
วันนี้กลุ่มเรียน 103 ได้จัดเซอร์ไพส์วันเกิดให้อาจารย์ที่น่ารักค่ะ

           กิจกรรมในวันนี้ อาจารย์ให้ถุงมือคนล่ะหนึ่งข้าง  แล้วใส่มือของตนเองข้างที่ไม่ถนัด จากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาวาดภาพมือของตนเองที่ใส่ถุงมืออยู่ ที่เราเห็นทุกวันอยู่กับเราตั้งแต่เกิดมา โดยให้เหมือนที่สุด


กิจกรรมต่อมารวมกันร้องเพลง

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
          กิจกรรมและเพลงต่างๆสามารถนำมาปรับประยุกต์ในการเรียนการสอนและใช่เพลงเป็นสื่อการร้องในการเก็บเด็กหรือสอนเด็กร้องตามพร้อมแต่งทางประกอบได้

ประเมินตนเอง
         วันนี้แต่งกายไม่เหมือนเพื่อน แต่งกายเรียบร้อย ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน เริ่มกล้าแสดงออกให้การทำกิจกรรมต่างๆกับเพื่อนในชั้นเรียน และวันนี้มีความสุขมาก มีทั้งรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ มีความสุขมากค่ะ

ประเมินเพื่อน
         เพื่อนๆกลุ่มเรียนสามัคคี ค่อยปรึกษา ช่วยเหลือและแนะนำ และร่วมกันทำกิจกรรมภายในชั้นเรียนอย่างสนุกสนาน เต็มไปด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ

ประเมินอาจารย์
 วันนี้อาจารย์ได้มารอนักศึกษา อาจารย์จึงโทรตาม และนักศึกษาก็เดินมาเซอร์ไพส์วันเกิดอาจารย์ อาจารย์ซึ้งและมีความสุขมาก และอาจารย์ก็ได้ให้ความรู้




บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน 
   วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย 
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
          อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิน
          วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558    
ครั้งที่ 5 เวลาเรียน 14.10-17.30น.
 เวลาเข้าสอน - น.เวลาเรียน - น. เวลาเลิกเรียน - น.
วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ไปเป็นวิทยากร