บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน 
   วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย 
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
          อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิน
          วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558    
ครั้งที่ 4 เวลาเรียน 14.10-17.30น.
 เวลาเข้าสอน 14.05 น.เวลาเรียน 14.10 น. เวลาเลิกเรียน 17.30 น.
         วันนี้อาจารย์ได้สอน 2 เรื่อง คือ รูปแบบการจัดการศึกษาและบทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
รูปแบบการจัดการศึกษา
        -การศึกษาปกติทั่วไป(Regular Education)
        -การศึกษาพิเศษ(Special Education)
        -การศึกษาแบบเรียนร่วม(Integrated Education)
        -การศึกษาแบบเรียนรวม(Inclusive Education)
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
         เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู็และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม(Integrated Education หรือ Mainstreaming)
         -การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
         -มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
         -ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
         -ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน
การเรียนร่วมบางเวลา(Integration)
         -การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา>>เข้าไปช่วงกิจกรรม
         -เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออกและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
         -เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต์เวลาได้
การเรียนร่วมเต็มเวลา(Mainstreaming)
         -การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
         -เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
         -มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน
         -เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม(Inclusive Education)
         -การศึกษาสำหรับทุกคน
         -รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา
         -จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
Wilson , 2007
        -การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน(Inclusion)เป็นหลัก
        -การสอนที่ดีเป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
        -กิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี(Good Teaching)ต้องคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้ 
        -เป็นการกำหนดทางเลือกหลายๆ ทาง
"Inclusive Education is Education for all,
 It involves receiving people
 at the beginning of their education, 
with provision of additional services
 needed by each individual"
         เด็กควรได้รับการศึกษาขั้นต้น(อนุบาล) การศึกษาแบบเรียนรวมทุกคน ครูก็ต้องเข้าใจเด็กว่ามีความแตกต่างกันเฉพาะบุคคล และครูต้องเข้าใจเด็กแต่ละบุคคล

สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
         -เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
        -เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาสำหรับทุกคน(Education for All)
        -การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็น เด็กปกติหรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 

       - เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก
        -เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้ และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ “รวมกัน” ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน 

ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวม สำหรับเด็กปฐมวัย
              -ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้  “สอนได้”
               -เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
เพิ่มเติม-ได้รับคามเบื้องต้น
               -ได้รับพัฒนาที่ดี
               -ช่วงสำคัญสมองกำลังพัฒนา
               -เซลล์สมองแรกเกิด-6ขวบ เลยปฐมวัยจะหยุดการพัฒนา

บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
ครูไม่ควรวินิจฉัย
        -การวินิจฉัย หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่างจากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้

ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
       -เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
       -ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
       -เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ
ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
       -พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
       -พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
       -ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิด ความหวังผิดๆ
       -ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
       -ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา

ครูทำอะไรบ้าง
      -ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
      -ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
      -สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
      -จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ

สังเกตอย่างมีระบบ
      -ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
      -ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆ ช่วงเวลายาวนานกว่า
      -ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา





การตรวจสอบ
     -จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
     -เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
     -บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ
ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
     -ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้ 
     -ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้   
     -พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป
การบันทึกการสังเกต
     -การนับอย่างง่ายๆ 
     -การบันทึกต่อเนื่อง
     -การบันทึกไม่ต่อเนื่อ
การนับอย่างง่ายๆ
    -นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม>>นับที่ทำ,ซ้ำๆ
    -กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง
    -ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
การบันทึกต่อเนื่อง
    -ให้รายละเอียดได้มาก
    -เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง
    -โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
เช่น>>
         
การบันทึกเป็นคำๆ
เช่น>>

การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
    -บันทึกลงบัตรเล็กๆ
    -เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง
เช่น>>
        
การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
    -ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่อง มากกว่าชนิดองความบกพร่อง
    -พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ
การตัดสินใจ   
    -ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
    -พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่

กิจกรรมในชั้นเรียน 
       อาจารย์ให้วาดรูปดอกชบา โดยให้เหมือนที่สุดและบรรยายดอกชบาที่เราเห็นตามความรู้สึก

ดอกชบา ดอกสดสีสวย ใบไม้เขียวขจี มองแล้วสบายตา น่าเด็ดน่าดม

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
           เด็กแต่ละคนจะมีความแตกต่างกัน และได้รู้ความแตกต่างของการเรียนแบบเรียนร่วมและเรียนรวม เด็กที่เรียนร่วม เมื่อเรียนจบแล้วศูนย์การศึกษาพิเศษจะพากลับ ส่วนเด็กเรียนรวม พ่อแม่พามาส่งและเรียนเหมือนเด็กปกติ โดยครูดูแต่อย่างใกล้ชิดและครูก็ต้องเข้าใจด้วยว่าเด็กแต่ล่ะมีความแตกต่างกันเฉพาะบุคคล

ประเมินตนเอง
          มีความพร้อมในการเรียน เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังและทำกิจกรรมในชั้นเรียน อย่างสนุกสนาน

ประเมินเพื่อน
          แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์สอน และร่วมตอบคำถามภายในชั้นเรียน และมีความสุขสนุกสนานในการเรียน

ประเมินอาจารย์
         อธิบายเนื้อหาเข้าใจ ชัดเจน และทวนเนื้อหา เพื่อให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจ สอนสนุกและเข้าใจเนื้อหา เห็นภาพชัดเจน




0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น